สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
*************************
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
ที่ตั้ง
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ ตั้งอยู่ เลขที่ 342 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอำเภอดอยเต่าไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก ประมาณ 1 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลดอยเต่า อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบสูงภูเขาและเนินเขาสูงสลับกันไปและมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนภูมิพล เรียกว่า ทะเลสาบดอยเต่า
1.3 ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปของตำบลท่าเดื่อ ในฤดูร้อนจะร้อนจัดและแห้งแล้งจัด มีพายุพัดรุนแรง เกิดวาตภัยเป็นประจำทุกปี ส่วนในฤดูหนาวอากาศหนาวจัด มีหมอกปกคลุม และแห้งแล้งจัด ส่วนใหญ่ฝนจะตกซุกในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน ของทุกปี
1.4 ลักษณะของดิน สภาพดินทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายไม่สามารถกักเก็บน้ำได้และดินดำบ้างเล็กน้อย
2. ด้านการเมือง / การปกครอง
2.1 เขตการปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 399.05 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลมืดกาและตำบลท่าเดื่อ มีจำนวน 9 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บ้านห้วยส้ม หมู่ที่ 3 ตำบลท่าเดื่อ
2. บ้านวังหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าเดื่อ
3. บ้านหนองบัวคำ หมู่ที่ 5 ตำบลท่าเดื่อ
4. บ้านดงมะนะ หมู่ที่ 6 ตำบลท่าเดื่อ
5. บ้านโป่งแพ่ง หมู่ที่ 1 ตำบลมืดกา
6. บ้านแปลง 1 หมู่ที่ 2 ตำบลมืดกา
7. บ้านแปลง 4 หมู่ที่ 3 ตำบลมืดกา
8. บ้านดอยหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลมืดกา
9. บ้านดอยแก้ว หมู่ที่ 5 ตำบลมืดกา
มีหน่วยงานราชการและสถานที่ทางศาสนา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ดังนี้
1. เทศบาลตำบล จำนวน 1 แห่ง
2. โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
3. ศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 7 แห่ง
4. วัด จำนวน 2 แห่ง
5. สำนักสงฆ์ จำนวน 4 แห่ง
6. ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง
2.2 การเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งออกเป็น 8 เขตเลือกตั้ง แบ่งได้ดังนี้
เขตเลือกตั้งที่ 1 บ้านห้วยส้ม ตำบลท่าเดื่อ
เขตเลือกตั้งที่ 2 บ้านวังหลวง ตำบลท่าเดื่อ
เขตเลือกตั้งที่ 3 บ้านหนองบัวคำ ตำบลท่าเดื่อ
เขตเลือกตั้งที่ 4 บ้านดงมะนะ ตำบลท่าเดื่อ
เขตเลือกตั้งที่ 5 บ้านโป่งแพ่ง ตำบลมืดกา
เขตเลือกตั้งที่ 6 บ้านแปลง 1 , บ้านแปลง 4 ตำบลมืดกา
เขตเลือกตั้งที่ 7 บ้านดอยหลวง ตำบลมืดกา
เขตเลือกตั้งที่ 8 บ้านดอยแก้ว ตำบลมืดกา
3.ประชากร
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
จำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน ตำบลท่าเดื่อ - มืดกา มีประชากรประมาณ คน จำนวนครัวเรือน ครัวเรือน ประชากรแบ่งเป็น ชาย คน และหญิง คน
หมู่ที่ |
ตำบล |
หมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ( ผู้บริหาร/ส.อบต. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 |
|||||
ครัวเรือน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|||
3 |
ท่าเดื่อ |
บ้านห้วยส้ม |
115 |
131 |
97 |
228 |
108 |
78 |
186 |
4 |
ท่าเดื่อ |
บ้านวังหลวง |
241 |
322 |
335 |
657 |
256 |
267 |
523 |
5 |
ท่าเดื่อ |
บ้านหนองบัวคำ |
134 |
193 |
152 |
345 |
75 |
62 |
137 |
6 |
ท่าเดื่อ |
บ้านดงมะนะ |
42 |
65 |
72 |
137 |
65 |
60 |
115 |
1 |
มืดกา |
บ้านโป่งแพ่ง |
45 |
60 |
67 |
127 |
54 |
61 |
125 |
2 |
มืดกา |
บ้านแปลง 1 |
8 |
12 |
7 |
19 |
39 |
44 |
83 |
3 |
มืดกา |
บ้านแปลง 4 |
27 |
27 |
30 |
57 |
32 |
26 |
58 |
4 |
มืดกา |
บ้านดอยหลวง |
142 |
200 |
210 |
410 |
141 |
147 |
288 |
5 |
มืดกา |
บ้านดอยแก้ว |
138 |
173 |
183 |
356 |
120 |
129 |
249 |
0 |
ท่าเดื่อ |
ทะเบียนกลาง |
2 |
28 |
18 |
46 |
จำนวนประชากรในทะเบียนกลาง |
||
รวม |
894 |
1,211 |
1,171 |
2,382 |
890 |
874 |
1,764 |
3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ช่วงอายุ |
ชาย (คน) |
หญิง (คน) |
รวม (คน) |
อายุต่ำกว่า 18 ปี |
281 |
282 |
563 |
อายุ 18 - 59 ปี |
772 |
714 |
1,486 |
อายุมากกว่า 60 ปี |
157 |
176 |
333 |
รวม |
1,210 |
1,172 |
2,382 |
(ข้อมูลอ้างอิงจาก งานทะเบียน อำเภอดอยเต่า เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2562)
4. สภาพทางสังคม
4.1 การศึกษา ตำบลท่าเดื่อ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ มีโรงเรียนในพื้นที่จำนวน 2 โรงเรียนและศูนย์การเรียนรู้ชุมขน จำนวน 7 แห่ง
4.2 การสาธารณสุข มีศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง โดยอัตราการมีและใช้ส้วมราด ร้อยละ 95
4.3 อาชญากรรม ในพื้นที่จะไม่ค่อยมีเหตุอาชญากรรม
4.4 ยาเสพติด ในพื้นที่มีแหล่งยาเสพติดในพื้นที่อยู่บ้างเล็กน้อย
4.5 การสังคมสงเคราะห์ ในพื้นที่จะมีการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนช่วยเหลือ และขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในพื้นที่
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคมขนส่ง
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1103 จำนวน 1 สาย (ถนนสายฮอด - แม่ตืน)
- ถนนลาดยาง จำนวน 3 สาย
- สะพานไม้ จำนวน 3 แห่ง
- ถนน คสม. จำนวน 4 สาย
- สะพานคอนกรีต จำนวน 1 แห่ง
- ถนนลูกรัง จำนวน 6 สาย
- ถนน คสล. จำนวน 36 สาย
5.2 การไฟฟ้า
- มีไฟฟ้าใช้ 614 ครัวเรือน
- พลังงานแสงอาทิตย์ 280 ครัวเรือน
5.3 การประปา ประปาส่วนใหญ่ในพื้นที่จะมีทุกหมู่บ้าน เป็นประปาบาดาลขนาดใหญ่เกือบทุกหมู่บ้าน ประชาชนได้รับการอุปโภค – บริโภค อย่างทั่วถึง โดยแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นมี ดังนี้
- ฝาย 13 แห่ง
- บ่อบาดาล 16 แห่ง ( มีเครื่องสูบน้ำ 5 แห่ง )
- อ่างเก็บน้ำ 17 แห่ง
5.4 โทรศัพท์ ในพื้นที่จะมีสถานีโทรศัพท์ครบทุกเครือข่าย ทั้งเครือข่ายมือถือ โทรศัพท์บ้าน และระบบอินเตอร์เน็ต มีอินเตอร์เน็ตไว้ให้บริการประชาชนทุกหมู่บ้าน
5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ ไม่มีไปรษณีย์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ
6.ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร การเกษตรกรรม มีเนื้อที่ประมาณ 6,575 ไร่ พืชที่ปลูก ได้แก่ ลำไย ข้าว ถั่วลิสง มะนาว ถั่วเหลือง งา ข้าวโพด กระเทียม หอม มะม่วง
6.2 การประมง มีการทำประมงน้ำจืดบริเวณทะเลสาบดอยเต่า จำนวน 82 ครัวเรือน
6.3 การปศุสัตว์ มีการเลี้ยง โค กระบือ ไก่ หมู ซึ่งการเลี้ยงโค กระบือส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ สามารถจำแนกได้ ดังนี้
- การเลี้ยงโค จำนวน 212 ครัวเรือน
- การเลี้ยงกระบือ จำนวน 84 ครัวเรือน
6.4 การบริการ มีหน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ ดังนี้
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1 แห่ง
- โรงสี 19 แห่ง
6.5 การท่องเที่ยว ในพื้นที่ตำบลท่าเดื่อ - มืดกา มีสถานท่องเที่ยวคือ
- ทะเลสาบดอยเต่า ตั้งอยู่ตำบลท่าเดื่อ มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีเรือและเรือนแพสำหรับขายอาหาร บริการนำเที่ยวและพักค้างแรม และมีสินค้าผลิตภัณฑ์จากปลาจำหน่าย
- พระธาตุดอยเกิ้ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เป็นที่บรรจุสารีริกธาตุ เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป ตั้งอยู่ในเขตบ้านหนองบัวคำ ตำบลท่าเดื่อ
- ออบแม่แวง ตั้งอยู่ในเขตตำบลมืดกา เดินทางโดยใช้เรือจากทะเลสาบดอยเต่า ใช้เวลา 30 นาที
- แก่งหินแม่ลาย ตั้งอยู่ในเขตตำบลมืดกา เดินทางโดยใช้เรือจากทะเลสาบดอยเต่า ใช้เวลาประมาณ 60 นาที
- น้ำตกอุมแป ตั้งอยู่ในเขตตำบลมืดกา เดินทางโดยใช้เรือจากทะเลสาบดอยเต่า ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
- สันเขาดอยหลวง / หลังแป่ ตั้งอยู่ในเขตตำบลมืดกา เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง
6.6 อุตสาหกรรม ในพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมประเภทเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการขายปลีก อุตสาหกรรมประเภทการก่อสร้าง อุตสาหกรรมกิจการห้องพัก รีสอร์ท เป็นต้น
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ ในพื้นที่ตำบลท่าเดื่อมีร้านค้าอยู่เป็นจำนวนมากที่จดทะเบียนพาณิชย์เพื่อทำกิจการและมีเพิ่มขึ้นทุกปี ประเภทธุรกิจที่จดทะเบียนสูงสุด คือ ร้านขายของชำ ร้านขายปุ๋ย ขายเคมีทางการเกษตร เป็นต้น มีรีสอร์ท หรือห้องพักไว้คอยบริการประชาชนที่มาท่องเที่ยว
6.8 แรงงาน ตำบลท่าเดื่อส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานเกษตร โดยส่วนมากจะมีเป็นแรงงานที่รับจ้างเป็นรายวัน
7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา ประชาชนในตำบลส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 99.06 โดยมีสถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด จำนวน 2 แห่ง
- สำนักสงฆ์ จำนวน 4 แห่ง
7.2 ประเพณีและงานประจำปี ในพื้นที่ท่าเดื่อ - มืดกา จะมีประเพณีและงานประจำปี ดังนี้
ประเพณีประจำท้องถิ่นของตำบลท่าเดื่อ - มืดกา ได้แก่ ประเพณีลงแขก ประเพณีสงฆ์น้ำพระธาตุดอยเกิ้ง ประเพณียี่เป็งรำลึก ประเพณีแห่ไม้ค้ำ และประเพณีนิยมตามเทศกาลและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น เทศกาลสงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา ออกพรรษา เป็นต้น
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ในพื้นที่ตำบลท่าเดื่อ - มืดกา จะมีภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนี้
- กลุ่มทอผ้าบ้านแปลง 1
- กลุ่มแปรรูปอาหารจากปลา
ภาษาถิ่น ประชาชนส่วนใหญ่จะพูดภาษาท้องถิ่นพื้นเมือง
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ในพื้นที่ตำบลท่าเดื่อ จะมีดังนี้
- ผ้าฝ้ายทอมือพื้นเมือง ได้แก่ ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ ผ้าม่าน ผ้ารองแก้ว ใช้ความประณีตในการทอสูง มีรูปแบบสวยงาม
- แปรรูปอาหารจากปลา ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากปลา เช่น ปลาวง ปลากรอบ ปลาสามรส ปลาป่น ปลาร้าผง น้ำพริก ฯลฯ มีรสชาติอร่อย สะอาด ถูกหลักอนามัย ได้รับมาตรฐาน อย. ไม่ใส่สารกันบูด สามารถเก็บไว้ได้นาน
8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ ตำบลท่าเดื่อ - มืดกา มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนี้
- ลำห้วย 16 สาย
- หนอง/บึง 5 แห่ง
8.2 ป่าไม้ ลักษณะป่าไม้ในตำบลท่าเดื่อ - มืดกา ประกอบด้วย
- ป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบ เป็นกลุ่มหรือเดี่ยวกระจายทั่วไปในป่าโปร่งปะปนกับพันธุ์ไม้ผลัดใบชนิดอื่น ๆ ไม้ที่มีค่า ได้แก่ ไม้สัก ไม้มะค่าโมง ไม้เต็งรัง ไม้ประดู่ ไม้แดง เป็นต้นส่วนพันธุ์ไม้ชั้นล่างจะเป็นพวกตระกูลปาล์มและไผ่
- ป่าเต็งรังหรือป่าแพะ มีพันธุ์ไม้สำคัญ คือ เต็ง รังพลวง เหียง โดยปกติเป็นไม้ขนาดกลางขึ้นกระจายอยู่ห่างๆ กัน ป่าชนิดนี้พบโดยทั่วไป และเป็นป่าที่มีความชื้นต่ำสุดง่ายต่อการเกิดไฟป่า
8.3 ภูเขา เขตพื้นที่ตำบลท่าเดื่อ - ท่าเด่อ จะมีภูเขาอยู่หลายที่จะเป็นภูเขาสลับพื้นราบ ส่วนใหญ่ประชาชนจะใช้ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์
8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเดื่อ มีทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทะเลสาบดอยเต่า 21,000 ไร่ (เฉพาะพื้นที่ในเขต อบต.)